หนึ่งในข้อสงสัยที่หลาย ๆ คนต่างสอบถาม พูนทรัพย์รังสิต กันเข้ามามากที่สุด นั่นก็คือภาษีที่ดินเหตุใดทำไมจึงต้องเสียภาษีด้วย ทั้ง ๆ ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากบิดามารดาหรือเครือญาติมิตร ซึ่งอยู่ในสายเลือดเดียวกัน ในบทความนี้ พูนทรัพย์รังสิต ก็จะมาไขข้อข้องใจให้ผู้ที่สงสัยได้เกิดความกระจ่างกัน

 

ต้องศึกษาก่อนว่า ภาษีมรดก คืออะไร?

สำหรับภาษีมรดกนี้ เป็นภาษีที่ผู้รับสืบทอดมรดก หรือได้รับผลประโยชน์จะต้องเป็นผู้จ่าย โดยทั้งนี้ทั้งนั้นมรดกที่ได้รับจะต้องมีมูลค่ารวมกันเกิน 100 ล้านบาท ภาษีนี้มีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า “ภาษีการรับมรดก” สำหรับทรัพย์สินมรดกที่ผู้รับจะต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่…

  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน
  • หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลัง
  • เงินฝาก
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
  • ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ

ซึ่งการเสียภาษีมรดกนั้นไม่ได้เสียทุกประเภท หรือทุก ๆ การรับมรดกทุกครั้ง แต่ทั้งนี้จะต้องมีมูลค่าสุทธิรวมกัน 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยคิดภายใต้กรอบอัตราภาษี 5 เปอร์เซ็นต์และ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ในกรณีที่ผู้รับมรดกนั้นเป็นผู้ที่มีความผูกพันทางสายเลือด เช่น บิดา, มารดา, ปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลูก, หลาน เป็นต้น อัตราภาษีในส่วนนี้จะลดลงคิดเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

ในกรณีคู่สมรสจะมีความพิเศษสักหน่อย เพราะว่าจะได้รับการยกเว้นในการจัดเก็บภาษีมรดกนี้ ถึงแม้ว่ามรดกชิ้นนั้นจะมีมูลค่าสูงเกิน 100 ล้านบาทก็ตามที ดังนั้นการรับมรดกที่ดินมา ผู้รับจึงมักมีโอกาสที่จะเสียภาษีมากกว่านั่นเอง เนื่องจากที่ดินมักมีมูลค่าสูง

 

ผู้ใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก

  • บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด 10%
  • พ่อแม่ 5%
  • ปู่ ย่า ตา ยาย 5%
  • ผู้สืบสันดาน 5%

**ผู้สืบสันดาน (คำศัพท์ทางกฎหมาย) คือ ผู้ที่เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิจะได้รับมรดกจากของเจ้ามรดก

 

การแบ่งมรดกไม่ต้องเสียภาษีที่ดินจริงหรือไม่?

นอกจากนี้ พูนทรัพย์รังสิต ขอแนะนำว่า ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่คุณต้องทราบอีกในการเสียภาษีมรดก หรือภาษีมรดกที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มรดกนั้นมีมูลค่ารวมกัน 100 บาทก็จริง แต่ในกรณีที่ต้องแบ่งที่ดินให้ญาตินิดหน่อย หรือแบ่งให้ญาติหลายฝ่ายจำนวนมาก จนกระทั่งมูลค่าลดลงต่ำกว่า 100 ล้านบาท ในกรณีนี้ผู้รับมรดกก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แต่อย่างไรก็ตามจากช่องโหว่ของการแบ่งทรัพย์สินนี้เอง จึงทำให้ผู้รับมรดกหลายคนที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท จึงมีการถ่ายโอนแบ่งทรัพย์สินไปให้กับเครือญาติหลายคน เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีในส่วนนี้ ดังนั้นทางภาครัฐจึงมีการอุดช่องโหว่ด้วยการร่างข้อกฎหมาย “ภาษีการรับการให้” ขึ้นมา โดยผู้รับทรัพย์สินจะต้องเสียภาษี 5 เปอร์เซ็นต์ในกรณีที่มูลค่าทรัพย์สินนั้นเกิน 10 ล้านบาท

 

ใครที่เสียภาษีน้อยลง

ถ้าผู้รับทรัพย์สินนั้นเป็นบิดามารดาหรือคู่สมรส จะเสียภาษีเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์จากทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป และการเสียภาษีมรดกนี้ ไม่ได้จ่ายเพียงแค่ครั้งเดียว ในกรณีที่คุณต้องการจ่ายค่าภาษีมรดก 100 ล้านบาทจริง ๆ ก็จะต้องไปแจ้งกับกรมสรรพากร เพื่อยืนยันตัวตนภายใน 150 วันและดำเนินเรื่องขอผ่อนชำระภาษีได้ภายในระยะเวลา 2 ปีปราศจากดอกเบี้ย แต่ในกรณีที่คุณเสียภาษีช้าหรือไปแจ้งช้ากว่า 150 วัน ก็จะต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 1 เท่าและจ่ายดอกเบี้ยในกรณีที่จ่ายล่าช้าร้อยละ 1.5 ต่อเดือนจนกระทั่งครบกำหนด ดังนั้นแล้วการรับมรดกไม่ใช่การรับสินทรัพย์ต่อมาเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องใส่ใจถึงเรื่องการเสียภาษีต่าง ๆ ให้ถูกต้องอีกด้วย

 

เพื่อป้องกันการเรียกคืนภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะต้องมีค่าปรับอีกตามมาอีกมาก และสร้างความสบายใจให้แก่ผู้รับมรดกสามารถนำมรดกชิ้นนั้นไปดูแลต่อยอด หรือจะขายต่าง ๆ ก็ทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่ดินเป็นมรดกชิ้นใหญ่ที่ไม่ควรมองข้ามและดำเนินการได้อย่างถูกต้อง และที่ดินบางแห่งยังมาพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน, อาคาร, ห้องพัก และอื่น ๆ ก็จะยิ่งทวีมูลค่ามากขึ้นเข้าไปอีก หวังว่าความรู้ดี ๆ จาก พูนทรัพย์รังสิต จะทำให้คุณเกิดความกระจ่างมากขึ้นในวันนี้

We use cookies to give you the best experience.