สำหรับในบทความนี้ เราจะมานำเสนอความรู้ดี ๆ ที่เกี่ยวกับภาษีโรงเรือนกัน โดยนิยามของคำว่าภาษีโรงเรือนนี้ ค่อนข้างที่จะกว้างและหลากหลาย แต่หลักการกำหนดขั้นพื้นฐานแล้ว จะเป็นการจัดเก็บภาษีจากสิ่งปลูกสร้างเช่น บ้าน, ห้องแถว, บริษัท, โรงแรม, โรงเรียน, โรงพยาบาล, คอนโด และอื่น ๆ เป็นต้น ตลอดจนเป็นการเก็บภาษีจากสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการสร้างแบบติดที่ดินอยู่อย่างถาวร ยกตัวอย่างเช่น สะพาน, ท่าเรือ และอื่น ๆ นอกจากนี้ความหมายยังรวมไปถึงสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่และมีความเกี่ยวพันกับที่ดิน เช่น บ่อน้ำหรือสระน้ำ เป็นต้น ดังนั้นภาษีโรงเรือน จึงเป็นอีกหนึ่งความรู้ใกล้ตัว ที่ทุกคนควรจะศึกษาและทำความรู้จักไว้ เผื่อที่จะได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องและเผื่อมีโอกาสที่จะได้จ่ายภาษีชนิดนี้ในอนาคต
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
โดยมีเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินไปในกิจกรรมต่าง ๆ …ดังนี้
- ปล่อยให้เช่า
- ใช้เป็นสถานที่ค้าขาย
- ใช้เป็นสถานที่กักเก็บคลังสินค้า
- ใช้เป็นสถานที่ประกอบอุตสาหกรรม
- ให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
- ใช้ประกอบกิจการเพื่อหารายได้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (Building and Land Tax)
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือน คือ เจ้าของทรัพย์สินนั้น ๆ จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการเดินเรื่อง และจ่ายเงินเสียภาษีโดยตรง แต่ในกรณีที่เจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินแห่งนั่น เช่น โรงเรียนหรือโรงแรม เป็นคนละเจ้าของกัน ในกรณีนี้ตามหลักกฎหมายของประเทศไทย ได้กำหนดให้เจ้าของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้ที่เสียรายได้ภาษีโรงเรือนนั่นเอง มีการกำหนดอัตราภาษีโรงเรือนร้อยละ 12.5 อันเป็นจำนวนรายปี ซึ่งจะมาจากการประเมินของเจ้าหน้าที่ โดยมีหลักเกณฑ์ที่คุณควรศึกษาไว้ ดังนี้…
- กรณีปล่อยให้เช่าโรงเรือนหรือที่ดิน
กรณีที่ทรัพย์สินของคุณนั้นมีค่าเช่า เช่น เปิดให้เช่าหอพักหรือเปิดให้เช่าที่ดิน มีการคำนวณดังนี้…
(ค่าเช่ารายเดือน x จำนวนเดือนที่เปิดกิจการ) x ร้อยละ 12.5 = ภาษี
ยกตัวอย่างเช่น คุณเปิดให้เช่าที่ดินในราคา 6,000 บาท/เดือน และปล่อยเช่ามาแล้วเป็นระยะเวลา 10 เดือน นำมาคำนวณดังนี้… (6,000 x 10) x ร้อยละ 12.5 = ภาษีที่ต้องเสีย 75,000 บาท เป็นต้น
- กรณีนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
กรณีที่ทรัพย์สินของคุณนำมาสร้างเป็นสถานประกอบการ หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่ไม่อาจประเมินค่ารายปีได้ จะมีการคำนวณดังนี้…
การยื่นแบบ
ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน และเข้าข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือน จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงรายการแจกแจงรายละเอียด เพื่อนำมายื่นเสียภาษี “ภ.ร.ด.2” ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุก ๆ ปี สามารถยื่นได้ที่ฝ่ายรายได้ ในสำนักงานเขต อันเป็นพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ กรณีผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ครอบครองทรัพย์สินหลายแห่งในหลายเขตพื้นที่ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนที่ สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
หลังจากที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนแล้ว คุณจะได้รับใบแจ้งการประเมิน “ภ.ร.ด.8” หลังจากนั้นให้คุณนำเอกสารนี้ไปชำระภาษีภายในระยะเวลา 30 วัน สามารถทำได้ที่ฝ่ายการคลัง ของสำนักงานเขตทุกเขต หรือนำไปจ่ายที่กองการเงิน สำนักการคลัง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้คุณยังสามารถชำระภาษีผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขาเช่นเดียวกัน
โทษปรับจากการไม่เสียภาษีโรงเรือน
- ผู้ที่ไม่ยื่นแบบ ภ.ร.ด. 2 ตามกำหนดมีโทษปรับ 200 บาท และถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังตามจำนวนปีที่ไม่ได้จ่าย โดยไม่เกิน 10 ปี
- ผู้ที่ยื่นแบบ ภ.ร.ด. 2 เป็นเท็จ อันมีจุดประสงค์เลี่ยงภาษี พบโทษจำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี
- ผู้ที่ชำระภาษีล่าช้าเกินกำหนด 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแบบ ภ.ร.ด. 8
และนี่ก็คือเรื่องน่ารู้ที่เกี่ยวกับภาษีโรงเรือน หลังจากที่อ่านจบกันแล้ว เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนมากขึ้นและมีความเข้าใจว่าภาษีชนิดนี้เป็นภาษีชนิดหนึ่ง ที่มีความใกล้ชิดกับการประกอบกิจการและการถือครองอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ ของประชาชนดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้คุณจ่ายภาษีให้ครบตรงตามที่กำหนด เพื่อที่จะได้มีความสบายใจในการประกอบกิจการอันใดต่อไปในอนาคต