สำหรับนิยามของคำว่าที่ดินปล่อยร้างนั้น มีผู้ให้คำนิยามหลายรูปแบบทั้งนี้มีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ถือครองพื้นที่นั้น ๆ, ขนาดพื้นที่, การปล่อยว่างโดยที่ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใช้สอยอันใดและอื่น ๆ และเมื่อมองเจาะลึกในเรื่องของที่ดินปล่อยร้างให้ลงลึกมากขึ้นเข้าไปอีก คราวนี้ก็จะต้องมองถึงเรื่องของการเสียภาษี ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เจ้าของที่ดินจะต้องมีการเสียภาษีให้ภาครัฐอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่ทางภาครัฐมองว่าที่ดินนั้นเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นการปล่อยให้เกิดพื้นที่ร้างว่างเปล่า โดยเฉพาะในพื้นที่ตัวเมืองจัดเป็นการสร้างภาระให้กับทางภาครัฐเป็นอย่างยิ่ง เพราะแทนที่จะนำพื้นที่ในส่วนนี้ไปใช้สอยให้เกิดประโยชน์อันใด ก็กลับปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ จึงทำให้ภาครัฐมีการเพิ่มการจัดเก็บภาษีรายปีที่สูงขึ้นมาก ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินเหล่านี้ไม่พอใจ ดังนั้นเราจึงมาเจาะแจ้งแถลงไขถึงปัญหาที่ดินร้างหรือที่ดินปล่อยว่างเปล่านี้กัน

 

ที่ดินปล่อยร้าง ทำให้เกิดปัญหาอย่างไร

อ้างอิงจากข้อมูลการสำรวจในปี 2008 ปัญหาพื้นที่รกร้างในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาสำคัญของเมือง จากการสำรวจพื้นที่ทั้ง 50 เขตของเมืองหลวง พบทั้งอาคารที่ว่างเปล่าและพื้นที่รกร้าง จำนวน 7,226 แปลง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4,374 ไร่ ส่วนใหญ่แล้วพบว่าอยู่ในเขตพื้นที่รอบนอก ได้แก่…เขตมีนบุรี, เขตหนองจอก และฝั่งธนบุรี เมื่อเจาะลึกไปที่เขตจตุจักร พบว่ามีที่รกร้างว่างเปล่ามากถึง 100 กว่าแห่ง โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นที่ดินของเอกชน

 

และขอหยิบยกข้อมูลจากประมวลรายงาน วาระปฏิรูปที่ 11 ปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ที่ต้องการวางมาตรการระยะยาวเพื่อแก้ไข ในการใช้ที่ดินอย่างไม่เต็มศักยภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีข้อกำหนดว่าเจ้าของที่ดินที่ใดได้ทำประโยชน์อันใดก็ตามกับที่ดินของตนเองแล้ว จะเสียภาษีให้รัฐน้อยกว่าเจ้าของที่ดินที่ปล่อยให้เกิดความรกร้างว่างเปล่า ดังนั้นถ้ามีการถือครองที่ดินแม้จะเป็นที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าแต่ก็จะต้องเสียภาษีแน่นอน 100% อีกทั้งยังเสียภาษีมากกว่าที่ดินที่มีการทำประโยชน์ หรือมีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้งานได้อีกด้วย

 

ที่ดินปล่อยร้าง เสียภาษีเท่าไหร่

ที่ดินรกร้างมีการคิดอัตราภาษีขั้นบันไดเพิ่มขึ้นตามมูลค่าราคาการประเมิน ดังนี้…

 

  1. ที่ดินสำหรับการทำเกษตรกรรม เพดานภาษีสูงสุด 0.15%

ที่ดินในลักษณะนี้จะต้องมีการปลูกต้นไม้ตามที่ภาครัฐกำหนด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีการปลูกกล้วยจะต้องปลูกไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อ 1 ไร่ และถ้ามีการปลูกน้อยกว่าที่กำหนด ก็จะต้องมีการคิดภาษีที่ดินที่เหลือ  

 

อัตราภาษีที่กำหนด

  • 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (เสียภาษี ล้านละ 100 บาท)
  • 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (เสียภาษี ล้านละ 300 บาท)
  • 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (เสียภาษีล้านละ 500 บาท)
  • 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% (เสียภาษีล้านละ 700 บาท)
  • 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี0.10% (เสียภาษี ล้านละ1,000 บาท)

 

อัตราภาษีปี 2566 เป็นต้นไป

สำหรับบุคคลธรรมดาที่ใช้ที่ดินในการทำการเกษตร มีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ในกรณีที่ดินมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท คราวนี้ก็จะต้องมีการจัดเก็บภาษีส่วนที่เพิ่มเติมมา ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่เกิน 0.15% แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลอย่างไรก็ยังต้องเสียภาษีอยู่อย่างแน่นอน

 

และนี่ก็คือความรู้ดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณผู้อ่านกันในวันนี้ เรื่องของภาษีเป็นเรื่องที่อาจจะซับซ้อน ดังนั้นจึงควรลงมือศึกษาการจ่ายภาษี และการคิดคำนวณภาษีให้เข้าใจก่อน ที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้ถือครองเอง เมื่อมีที่ดินอยู่ในมือ หลาย ๆ คนมองว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาล และเป็นทรัพย์สินที่มีแต่กำไรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถึงกระนั้นก็อย่าลืมมองในอีกแง่มุมหนึ่ง นั่นก็คือการเสียภาษีระหว่างที่คุณถือครอง โดยที่ปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเปล่าคุณอาจจะพบกับรูรั่วทางการเงินที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้

We use cookies to give you the best experience.